ขนคุด และ การกำจัดขน
ขนคุด (keratosis pilaris) เกิดจากอะไร?
เกิดจากการติดเชื้อที่รูขุมขน, ปลายเส้นขนแทงรูขุมขน จนทำให้เกิดการอักเสบ หรือ การอุดตันของรูขน ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง มักพบในผู้ที่มีผิวแห้ง และอาการจะเป็นมากขึ้นในช่วงที่มีอาการเย็นและแห้ง

ขนคุด ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ และความสวยงาม สามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
• กลุ่มพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง ให้รูขุมขนอุดตันด้วยโปรตีนเคราติน (keratin) ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดที่อยู่ใต้ผิวหนัง เกิดอาการแดง การอักเสบเป็นหนอง เป็นฝี หรือ รอยดำ โดยจะพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่น อาการเป็นๆ หายๆ แต่อาจดีขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น
• กลุ่มสรีระ เกิดจากตำแหน่งสรีระของแต่ละคน เช่น บริเวณท้ายทอย ต้นคอ ใต้คาง ขาหนีบ ที่มีลักษณะพับทับกัน ซึ่งอาจทำให้ขนไม่ยอมขึ้น แล้วไปเบียดตัวอยู่ในรูขุมขน จนทำให้เป็นขนคุดได้
• กลุ่มกำจัดขน คือ การโกนขนทวนทิศทางการงอก หนีบขน แหนบขน หรือการแว็กซ์ขนที่ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี จนทำให้เส้นขนขาด เกิดเป็นปลายแหลมไปทิ่มแทงรูขนให้เกิดอาการอักเสบได้

**ในบทความนี้ จะขอ Review เฉพาะ ขนคุดที่เกิดจากการกำจัดขนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้นนะคะ ส่วนกลุ่มพันธุกรรม และ กลุ่มสรีระ นั้น เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีแนวทางการรักษาหลากหลายไปในแต่ละบุคคล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง จะดีที่สุดค่ะ**


ภาพเปรียบเทียบ ขนคุดกลุ่มพันธุกรรม vs. ขนคุดกลุ่มกำจัดขนที่ไม่ถูกวิธี
ขนคุด ดูแล-รักษาอย่างไร?

ดังนั้น การกำจัดขนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันขนคุด และ ขนคุดไม่ได้เกิดจากแว๊กซ์ขน แต่เกิดจากการกำจัดขนที่ผิดวิธี ได้แก่ การโกน การถอน และการใช้ครีมกำจัดขน ที่ผิดวิธีนั่นเอง
ที่มา: http://women.haijai.com/1539/
นพ.รัฐภรณ์ อึ๊งภากรณ์/แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
http://haamor.com/โรคขนคุด
เกิดจากการติดเชื้อที่รูขุมขน, ปลายเส้นขนแทงรูขุมขน จนทำให้เกิดการอักเสบ หรือ การอุดตันของรูขน ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง มักพบในผู้ที่มีผิวแห้ง และอาการจะเป็นมากขึ้นในช่วงที่มีอาการเย็นและแห้ง

ขนคุด ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ และความสวยงาม สามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
• กลุ่มพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง ให้รูขุมขนอุดตันด้วยโปรตีนเคราติน (keratin) ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดที่อยู่ใต้ผิวหนัง เกิดอาการแดง การอักเสบเป็นหนอง เป็นฝี หรือ รอยดำ โดยจะพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่น อาการเป็นๆ หายๆ แต่อาจดีขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น
• กลุ่มสรีระ เกิดจากตำแหน่งสรีระของแต่ละคน เช่น บริเวณท้ายทอย ต้นคอ ใต้คาง ขาหนีบ ที่มีลักษณะพับทับกัน ซึ่งอาจทำให้ขนไม่ยอมขึ้น แล้วไปเบียดตัวอยู่ในรูขุมขน จนทำให้เป็นขนคุดได้
• กลุ่มกำจัดขน คือ การโกนขนทวนทิศทางการงอก หนีบขน แหนบขน หรือการแว็กซ์ขนที่ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี จนทำให้เส้นขนขาด เกิดเป็นปลายแหลมไปทิ่มแทงรูขนให้เกิดอาการอักเสบได้

**ในบทความนี้ จะขอ Review เฉพาะ ขนคุดที่เกิดจากการกำจัดขนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้นนะคะ ส่วนกลุ่มพันธุกรรม และ กลุ่มสรีระ นั้น เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีแนวทางการรักษาหลากหลายไปในแต่ละบุคคล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง จะดีที่สุดค่ะ**


ภาพเปรียบเทียบ ขนคุดกลุ่มพันธุกรรม vs. ขนคุดกลุ่มกำจัดขนที่ไม่ถูกวิธี
ขนคุด ดูแล-รักษาอย่างไร?
- รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังอยู่เสมอ
- อย่าแกะ อย่าบีบ อย่าเกา เพราะจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นและหายยาก
- ใช้สบู่อ่อน สำหรับผิวแห้งหรือผิวแพ้ง่าย เช่น สบู่เด็กอ่อน
- ทาโลชัน Moisturizer ให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเช้า-เย็น และทาได้บ่อยขึ้นอีกบริเวณผิวที่แห้ง
- เลี่ยงการอาบน้ำอุ่น และใช้ใยขัดผิว ขัดเพียงเบาๆ เพื่อกำจัดเซลล์ผิวเก่าออก

- หากเกิดจากการโกนขนที่ผิดวิธี --- ควรโกนตามแนวขนไม่ให้โกนย้อนขึ้น และใช้มีดโกนที่สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- หากเกิดจากการถอนขนที่ผิดวิธี --- ควรถอนให้หมดทั้งเส้น ไม่ให้ขนขาด มีรากขนฝังในรูขุมขน
- หากเกิดจากการแว๊กซ์ขนที่ผิดวิธี --- ควรแว๊กซ์ให้หมดทั้งรากขน ไม่ให้ขนขาด มีรากขนฝังในรูขุมขน
ดังนั้น การกำจัดขนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันขนคุด และ ขนคุดไม่ได้เกิดจากแว๊กซ์ขน แต่เกิดจากการกำจัดขนที่ผิดวิธี ได้แก่ การโกน การถอน และการใช้ครีมกำจัดขน ที่ผิดวิธีนั่นเอง
ที่มา: http://women.haijai.com/1539/
นพ.รัฐภรณ์ อึ๊งภากรณ์/แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
http://haamor.com/โรคขนคุด
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thesweetblossom.com หรือ www.facebook.com/TheSweetBlossom ค่า ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น